NIA จัดงานแถลงข่าวความสำเร็จ STARTUP x INNOVATION THAILAND EXPO 2022 (SITE 2022) พร้อมประกาศเตรียมพบกับ SITE 2023 อิเวนต์จริงครั้งใหญ่ เต็มรูปแบบกลางปีหน้า!

image
NIA จัดงานแถลงข่าวความสำเร็จ STARTUP x INNOVATION THAILAND EXPO 2022 (SITE 2022) พร้อมประกาศเตรียมพบกับ SITE 2023 อิเวนต์จริงครั้งใหญ่ เต็มรูปแบบกลางปีหน้า!
วันที่จัดงาน : 29 ก.ย. 2566 (00.00) - 29 ก.ย. 2566 (00.00)
วันที่รับสมัคร : ไม่ระบุ
ยังไม่ระบุสถานที่
จำนวนเปิดรับ : ไม่จำกัด

รายละเอียด

NIA จัดงานแถลงข่าวความสำเร็จ STARTUP x INNOVATION THAILAND EXPO 2022 (SITE 2022) พร้อมประกาศเตรียมพบกับ SITE 2023 อิเวนต์จริงครั้งใหญ่ เต็มรูปแบบกลางปีหน้า!

งาน SITE หรือ STARTUP x INNOVATION THAILAND EXPO จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เพื่อสร้างแรงดึงดูดและโอกาสในการเข้าถึงของผู้คนทั่วโลก พร้อมสัมผัสประสบการณ์ใหม่ที่ตื่นตาตื่นใจกว่าที่เคย โดยผู้เข้าชมงานสามารถสร้างกราฟิกแทนตัวบุคคลที่เรียกว่า “อวาตาร (Avatar)” และทำกิจกรรมต่างๆ ในโลกเสมือนคู่ขนานไปกับโลกจริงทางกายภาพได้อย่างกลมกลืนจากทั่วทุกมุมโลก เรียกได้ว่าเป็นสะพานเชื่อมผู้คนในแวดวงนวัตกรรมจากทั่วโลกได้เข้ามาพบปะ เรียนรู้ และร่วมกันพัฒนาให้ไทยก้าวไปสู่การเป็นเมืองนวัตกรรมที่ดียิ่งขึ้น ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ 

กิจกรรมภายในงานทั้ง 3 วัน แบ่งออกเป็น 3 ประเด็นหลัก ดังนี้ 

วันแรกนำเสนอเรื่อง Global Innovation City หรือ เมืองนวัตกรรมจากทั่วโลก โดยมีวิทยากรจากแต่ละเมืองมาร่วมให้ความรู้และนำเสนอปัญหาความเหลื่อมล้ำต่างๆ ในสังคมที่เห็นได้อย่างชัดเจนในช่วงวิกฤตที่ผ่านมา ทำให้การช่วยเหลือ ‘ผู้คน’ กลายเป็นหัวใจของการสร้างสรรค์นวัตกรรม รวมถึงตัวอย่างความสำเร็จของประเทศเพื่อนบ้านที่นำนวัตกรรมไปตอบโจทย์ความเหลื่อมล้ำในเมือง ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ได้ตั้งแต่การช่วยเหลือประชากรช การสร้างรายได้เศรษฐกิจใหม่ การวางแผนที่นำทาง (roadmap) เพื่อให้ครอบคลุมทั้งประเทศ และระบบกลไกในการผลักดันให้ผู้คนใช้นวัตกรรมที่เหมาะสมกับตัวเอง 

ดร.พันธุ์อาจ กล่าวว่า “วันแรกเราได้ผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ มาร่วมเสวนาบนเวทีเพื่อนำเสนอปัญหาความเหลื่อมล้ำของกรุงเทพฯ มีการพูดคุยถึงการทำนวัตกรรมทางสังคม และการขับเคลื่อนย่านนวัตกรรมร่วมกันกับกทม. นอกจาก กทม. แล้วยังมีวิทยากรท่านอื่นๆ มาเล่าเรื่องการเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมในเมืองไทย เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น โคราช อีกด้วย” 

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลังจากการเปิดเมืองด้วยการดึงนวัตกรเข้ามาในประเทศเป็นอีกมุดหมายสำคัญที่ภาครัฐและเอกชนต้องร่วมกัน ซึ่งนอกจากจะเน้นเรื่องการเติบโตของภาคธุรกิจแล้ว ภาคสังคมก็ต้องให้ความสำคัญด้วย เพราะนวัตกรรมทางสังคมจะเป็นตัวแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในประเทศได้ นอกจากนี้ยังมีการถอดบทเรียนจากเมืองสำคัญอื่นๆ ที่มีความโดดเด่นทางด้านนวัตกรรม อาจกล่าวได้ว่าโรคระบาด ถือเป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้นวัตกรรมบางชนิดเติบโต และวันแรกของการจัดงานได้มีอวาตารของ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มาร่วมเปิดงานซึ่งถือเป็นรัฐมนตรีอวาตารคนแรกของไทยอีกด้วย 

วันที่สองนำเสนอเรื่อง Innovation Thailand หรือการพัฒนาเมืองนวัตกรรมของไทย ที่มีเป้าหมายในการดึงภาคีต่างๆ เข้ามาร่วมพัฒนาให้ไทยเป็นชาติแห่งนวัตกรรมและเป็นสถานที่ที่เหมาะกับการลงทุนของเหล่าสตาร์ทอัพ สอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลที่มุ่งผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นประเทศที่มีความสามารถด้านนวัตกรรมติดลำดับ 30 ของดัชนีนวัตกรรมโลก ภายในปี 2030 

และวันสุดท้ายนำเสนอเกี่ยวกับ Metaverse ซึ่งคือเทคโนโลยีโลกเสมือนที่มีศักยภาพ เข้ามาช่วยตอบโจทย์ความเหลื่อมล้ำได้อย่างชัดเจน สร้างความเท่าเทียม ทางสังคม เศรษฐกิจ การศึกษาและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ทดสอบ (Sandbox) ในการสร้างแบบจำลอง ทดลอง ในหลากหลายวงการ เช่น การศึกษา ซึ่งนอกจากช่วยลดค่าใช้จ่ายยังทำให้เห็นภาพของการวิจัยต่างๆ และชิ้นงานที่ชัดเจนขึ้น สำหรับการแพทย์ จะช่วยฝึกทักษะยากให้เกิดความแม่นยำก่อนลงมือจริง ทั้งนี้ ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเมตาเวิร์สเกิดขึ้นจำนวนมาก และมีโอกาสอย่างยิ่งที่จะกลายเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีใหม่ในการสร้างรายได้มหาศาลเข้าประเทศ ซึ่งมีกลุ่มนักลงทุนทั่วโลกกำลังให้ความสนใจเป็นพิเศษ ดังนั้น ทั้งภาครัฐและเอกชนควรเตรียมพร้อมเพื่อที่จะได้ไม่พลาดโอกาสนี้ไป 

ดร.พันธุ์อาจ กล่าวสรุปว่า สำหรับยอดการเข้าชมงานในช่วง 2-3 ปีนี้ ไม่ได้เน้นการนับยอดผู้ที่เดินเข้างานเหมือนนอดีต แต่มองในเรื่อง Engagement ซึ่งตลอด 3 วันของการจัดงานมีเข้าชมงานผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของ NIA, Startup Thailand และ Innovation Thailand อย่างล้นหลามกว่า 1.9 ล้านคน ซึ่งถือว่าไม่น้อยสำหรับหน่วยงานราชการ มีผู้เข้าร่วมงานทั้งทางเว็บไซต์และโลกเมตาเวิร์สมากกว่า 6,000 คน เกิดการรับรู้ของนานาชาติมากกว่า 10 ประเทศกับคลังความรู้ด้านการพัฒนาเมืองนวัตกรรมและการเปิดพื้นที่นวัตกรรมให้เกิดการเชื่อมต่อกันทั้งระดับประเทศและระดับโลกในเวทีฟอรั่มรวม 35 หัวข้อ โดยสุดยอดสตาร์ทอัพและนวัตกรชั้นนำของเมืองไทย และวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากในประเทศและต่างประเทศกว่า 70 ท่าน ที่มาร่วมแชร์ความรู้และประสบการณ์สามารถเข้าชมย้อนหลังผ่านทางยูทูบของ NIA มีบูธนำเสนอผลงานและบริการจากสตาร์ทอัพ นวัตกร พันธมิตรนวัตกรรมไทยในเมตาเวิร์สมากกว่า 100 บูธ มี 30 เมนทอร์ที่มีชื่อเสียงจากหลายหลายวงการมาร่วมงาน มีกลุ่มนักลงทุนมากกว่า 20 รายและสตาร์ทอัพมากกว่า 50 ราย ที่นอกจากจะมาเจอกัน อัปเดตเทรนด์และความก้าวหน้าด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีแล้ว แต่ละส่วนยังมีโอกาสได้พบปะเจรจาธุรกิจกันในงานเหมือนเช่นที่เกิดขึ้นทุกปี ซึ่งนับเป็นความสำเร็จสูงสุดของงาน ที่ได้เชื่อมทุกคนมาเจอกัน 

กิจกรรมทั้งหมดในงาน SITE 2022 ได้แสดงถึงความมุ่งมั่นตั้งใจทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชนของไทยในการร่วมกันสร้างระบบนิเวศสตาร์ทอัพที่เอื้อต่อการเกิดนวัตกรรมที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งยังแสดงให้เห็นความพร้อมทางนวัตกรรมของไทยในอุตสาหกรรมและพื้นที่ต่างๆ ที่สามารถพัฒนาเชื่อมต่อกับเมืองนวัตกรรมอื่นๆ ของโลกได้อย่างแท้จริง 

NIA เชื่อมั่นว่าการเริ่มต้นเชื่อมเมืองนวัตกรรมไทยอีกครั้ง หลังจากงาน SITE 2022 เราจะได้เห็นการพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรมของไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหลากหลายสาขามากขึ้น ทั้งนี้ สำหรับทิศทางต่อไปของ SITE คือ การผลักดันให้เกิด พรบ. สตาร์ทอัพซึ่งเป็น 1 ใน 10 พรบ.ปฎิรูปประเทศ บทบาทของภาครัฐที่จะเข้ามาเป็นแรงขับเคลื่อนธุรกิจสตาร์ทอัพ และส่งเสริมเรื่องเทคโนโลยีเชิงลึกให้มากขึ้น และเราจะกลับมาพบกันอีกครั้งในรูปแบบอิเวนต์จริงที่ยิ่งใหญ่ กับงาน Startup x Innovation Thailand 2023 (SITE 2023) ระหว่างวันที่ 22-24 มิถุนายน 2566 พร้อมขอเชิญชวนทุกคนเตรียมเปิดโลกใบใหม่และร่วมขับเคลื่อนประเทศไปด้วยกัน 

#NIA #SITE2022 #SITE2023 #StartupThailand #InnovationThailand #Metaverse #GlobalInnovationCity #Avatar

ข้อมูลกิจกรรม
วันที่จัดงาน 29 ก.ย. 2566 (00.00) - 29 ก.ย. 2566 (00.00)
วันที่รับสมัคร ไม่ระบุ
ค่าใช้จ่าย ไม่มีค่าใช้จ่าย
หลักฐานการสมัคร
คุณสมบัติของผู้เข้าร่วม
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ไม่จำกัด
คุณสมบัติผู้เข้าร่วม (อายุ) ไม่จำกัด
ประเภทผู้ประกอบการ ไม่จำกัด
หมวดธุรกิจของผู้เข้าร่วม ไม่จำกัด
แสดงความคิดเห็น
image
ความคิดเห็น